Site Overlay

สวยใสไร้สารตกค้าง

สวัสดีครับเพื่อนๆ

โอลิมปิกจบไปเกือบเดือน ทำเอาตอนนั้นวันๆแอดไม่ต้องทำอะไร นั่งลุ้นนั่งเชียร์กันแบบกระจัดกระจาย สนุกมากๆ ขอบคุณเลยที่มีให้ดูในช่วงนี้ แก้เครียดและหดหู่ได้ดีมากๆ 

มาเข้าเรื่องของแอดกันดีกว่า (จะบอกว่ามาเข้าเรื่องของเราก็ไม่น่าจะใช้ได้ เพราะแอดไม่ได้ปรึกษาคนอ่านก่อนเขียน 555) เอาคำถามกลับไปให้เพื่อนๆว่า ทุกครั้งที่ซื้อของ เพื่อนๆอ่านฉลาก ด้านหลังกันไหมครับ ไอ้ที่ตัวหนังสือขยุกขยุย เป็นปื้นๆ แถมยังตัวเล็กม้ากกกก จนบางทีอยากจะถามเจ้าของผลิตภัณฑ์ว่า ต้องการประหยัดงบ แพ็คเกจจิ้ง เหรอครับ หรือประหยัดงบสั่งสติกเกอร์ (สินค้านำเข้าที่ต้องติดเป็นภาษาไทยกำกับตามกฏกระทรวง) หรือเปล่าครับ อัดกันทุกส่วนประกอบอยู่ในนั้น แอดเคยทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ ผลที่ได้คือ ประเภทแรกเกือบ85% ที่อ่านฉลากโดยละเอียด และประเภทที่2คือ ไม่อ่านครับ แอดเป็นประเภทหลัง ++ (บวกบวก)  ไม่เคยอ่านเลยครับ ตามเหตุผลที่บ่นไปแล้ว จะดูแค่ ยี่ห้ออะไร รสชาติอะไร หยิบๆๆๆ จบ แต่ก็นะ..ช่วงว่างๆ เซ็งๆ อ่ะ หยิบซองเครื่องดื่มมาพลิกดู ไรเนี่ยยยย… คือไร? เครื่องหมาย สัญลักษณ์ไรเยอะแยะ (แต่ก็นะ คิดเอาเองว่า มีเยอะ = ของดี) เลยเกิดความอยากรู้ขึ้นมาว่ามันคืออะไร มือเร็วเท่าความคิด หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาพึ่งพาอากู๋ แล้วก็… อ่ออออออออออ

เริ่มอันนี้เลยครับ เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมาย Euro Leaf หรือชื่อเต็มๆว่า The European biological certificate Euro Leaf แค่อันแรกก็โหหหห ละครับ เพราะเป็นเครื่องหมายที่มีความสำคัญม้ากกกกที่สุด ของสินค้า ออร์แกนิคในยุโรป โดยกว่าที่จะได้รับเครื่องหมายนี้ ในขั้นตอนขบวนการผลิต (ตั้งแต่พื้นที่ปลูก เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย น้ำ แสงแดด) จะต้องมีมาตรฐานการเพาะปลูกแบบออร์แกนิคที่ตรงตามข้อบังคับแบบเป๊ะๆๆๆ ของคณะกรรมาธิการยุโรปเท่านั้น…และต้องมีวัตถุดิบที่ปลูกและผลิตในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป หรือทำฟาร์มแบบออร์แกนิค….หรือส่วนผสมที่ผลิตด้วยกระบวนการออร์แกนิคไม่น้อยกว่า 95% ของทั้งหมด (แค่อ่านยังอึดอัดเลยอะไรจะต้องตามกฎขนาดนี้)

อันต่อไป สัญลักษณ์มาตรฐานของ ECOCERT 

คือ ตรารับรองผลิตภัณฑ์ หรือตรารับรองสารธรรมชาติออร์แกนิกที่ออกโดยสถาบัน ECOCERT ประเทศฝรั่งเศส มีมาตรฐานเทียบเท่าและเป็นที่ยอมรับของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในผู้นำของตรารับรองมาตรฐานการใส่ใจธรรมชาติที่มีชื่อเสียงในระดับสากล โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง ECOCERT นั้น ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก เริ่มตั้งแต่ การเพาะปลูก กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และจะต้องผ่านการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี วัตถุดิบที่ได้รับรองมาตรฐาน ECOCERT นั้นจะต้องมีถิ่นกำเนิดมาจากธรรมชาติและต้องมาจากฟาร์มออร์แกนิคเท่านั้น

(อ้างอิงจาก http://www.viorganic.com/our-standards/)

แค่ 2 สัญลักษณ์ ก็เกินพอละครับ สำหรับน้ำผลไม้ซองนี้ ไม่ต้องไปหาแล้ว กินเข้าไปนี่ มั่นใจได้ 100% ว่า Organic ล้วนๆ ไม่มีสารเคมีปน! ทีนี้ก็เกิดอยากจะรู้ต่อไปอีกว่า Oraginic มันต้องอะไร มันต้องยังไง เผื่ออยากจะปลูกผัก Organic กับเค้าบ้างเป็นรายได้อีกทางต้องทำยังไง หลังจากก้มาหาข้อมูลอยู่น้านนนน (ขั้นสูงของนาน) สรุปจับใจความได้ว่า

การเกษตรแบบอินทรีย์นั้น หลักๆคือ 

ใช้ปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติ

 เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ  

เสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ 

เน้นการปรับปรุงบารุงดินด้วยอินทรียวัตถุ

ขยายความหน่อยก็ครืออออ เริ่มจาก

พื้นที่ ที่จะใช้ปลูก 

-ต้องไม่มีสารเคมีหรือ สารพิษตกค้างมาเป็นเวลาอย่างน้อยยย 3 ปี 

-เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง 

-ห่างจากถนนหลวงหลัก โรงงานอุตสาหกรรม  พื้นที่เกษตรที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมี

-ต้องมีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

โหหหหห…นี่ขนาดยังไม่ได้ปลูกเลยนะขะนับ เห็นแล้วท้อเลย พื้นดิน เวอร์จิ้น 

เมล็ดพันธุ์

ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์จากธรรมชาติ เท่านั้นๆห้ามใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการตัดแต่งโดยเด็ดขาด แหมมม เมล็ดพันธุ์แท้ๆธรรมชาติๆ 

ปลูกพืช

ควรจะปลูกพืชหลากหลายพันธุ์หลากหลายชนิด เพื่อความคงที่ (เค้าใช้คำว่า เสถียรภาพ) ของระบบนิเวศ (ศัพท์ลึกไปอีก) บางสวนจะใช่การปลูกพืชเป็นระดับ เอ๊ะ! เหมือนนาขั้นบันไดมั้ยนะตอนได้ยินครั้งแรก ปรากฏว่าไม่ใช่ครับ แอดทึ่งกับภูมิปัญญานี้มาก ชอบมาก(ส่วนตัว) (จะขอพิมพ์โม้เยอะหน่อยนะครับ) การปลูกแบบนี้มีตั้งแต่ 4 ระดับ ไล่ไป 5,7จนถึง 9 ระดับ ความหมายและวิธีปลูกคือ  เกษตรกรจะปลูกพืชที่มีลำต้นหลายๆความสูงครับ เพื่อให้พืชเหล่านั้นมีความ ร่วมด้วยช่วยกัน (ในบางแหล่งข้อมูลใช้คำว่า เกื้อกูลกัน แหมมม ละมุนเหลือเกินไม่มีตัวร้ายเลย) ข้อดีคือ ใช้พื้นที่ได้อย่าคุ้มมมค่าทุกตารางฟุต ต้นทุนผลิตต่ำ ไม่ต้องใช้แรงงานเยอะ ได้ผลผลิตวาไรตี้ (หลากหลาย) แต่ละระดับมีอะไรบ้าง มาเลยขะนับ 

แอดเอาตัวอย่างแบบ 5 ระดับที่นิยมกันมาเป็นตัวอย่างนะครับ

เริ่มจากชั้นกันก่อน 

พืชที่นิยมปลูกในชั้นนี้จะเป็นไม้ยืนต้นใหญ่ ไม้ใบใหญ่ เป็นการออมเพื่ออนาคต อายุ 10 ปีขึ้นไป

ได้แก่ ต้น ประดู่ ต้นสัก ต้นกฤษณา

ชั้นต่อมา ชั้นกลาง จะเป็นกลั่มที่รองมาจากไม้ยืนต้น ประเภทผลไม้ ที่เก็บผลมารับทาน มีอายุ 3 ปีขึ้นไป  เช่น มะม่วง มะขาม ลำไย เงาะ ลิ้นจี่ ที่พิมพ์มา แอดชอบทุกอย่างเลยครับ…

ชั้นระดับต่ำ (ไม่ต้องเน้นเสียงนะขะนับ 555) เป็นพืชที่มีอายุ1 ปีขึ้นไปครับ เราจะใช้ประโยชน์จากรูปทรงที่เป็นพุ่มเตี้ย ของพืชในชั้นนี้ครับ เช่น มะนาว มะกรูด แก้วมังกร ผักติ้ว กล้วย มะละกอ 

ชั้นระดับผิวดิน โดยส่วนมากแล้วน้านนน จะเป็นพืชผักสวนครัวครับ เช่น ตะไคร้ สะระแหน่ ขิง ข่า บัวบก กระชาย ผักบุ้ง เป็นต้นครับ

และระดับสุดท้าย คือ ระดับชั้น ใต้ดิน ซึ่งเราจะปลูกพืชที่ใช้หัวเอามารับทานครับ เช่น มัน,เผือก (เอ่อออ..อ่านติดกันไม่น่าจะดี เอาใหม่ๆ)   มันสำปะหลัง มันเทศ เผือก เป็นต้นครับ

อืมมมมม…. แค่นี้ในพื้นที่ ไม่ถึง 1ไร่ ก็สามารถปลูก และ เก็บกิน ได้หลากหลายแล้วครับ อ่ะ..ไปที่หัวข้อต่อไปดีกว่า… แต่ หิวน้ำ อยากได้หวานๆเย็นๆ ชื่นใจและปลอดภัย ( ขายของแหละ ดูออก )

กายหยาบเร็วเกือบเท่าจิตละเอียด เดินไปเปิดตู้เย็น หมับ! คว้ามา 1 ซอง 

แกะหลอดเจาะซอง…. อ่าาาาาา… ชื่นนนนจายยยย

SUNBLAST ORGANIC JUICE น้ำผลไม้ออร์แกนิค แท้ 100%  มีเครื่องหมายมาตรฐาน organic การันตีด้านหลังซองเพียบ หลายรสชาติให้เลือกซื้อแล้วนะคร้าบบบบ  กินไปจนหมดซองรู้ตัวอีกทีกายหยาบเอนละลายไปกับโซฟาเรียบร้อย ยังไม่ได้เขียนหัวข้อต่อไปเลย พอดึงความขยันจากจิตละเอียดออกมาได้ สายตาก็เหลือบไปเห็น โอ๊ะ! น้ำ แอดต้องขอตัวไปวิดน้ำก่อนนะครับ ขอติดไว้เป็นบทความหน้าจะมาโม้ต่อให้อ่านนะครับ กรี๊สสสสสสส… น้ำซึมขึ้นมาเหมือนมีใครทำน้ำหกจากแกลอนน้ำมัน มุแงงงงงงงง

ขอบคุณครับ

By N.K

อ้างอิง

ec.Europa.eu

ecocert.com

organicseurope.eu

soilassociation.org

arda.co.th

hrdi.co.th

opsmoac.go.th